J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย

เรียนภาษาญี่ปุ่นจากข่าวไทยเวอร์ชั่นญี่ปุ่น 3
 

タイ国際航空が2006/9期の決算を発表しています。売上高は1,786億バーツ(前年比9.9%増)、純利益は89.9億バーツ(前年32.7%増)の好調な決算となっていますが、バーツ高による為替差益が61.8億バーツと前年の4倍以上になったことが、利益を押し上げる要因となっており、営業利益では前年比22.7%減です。尚、搭乗率は75.4%と過去最高を記録したようです。

บริษัทสายการบินไทยได้รายงานข้อมูลการปิดงบบัญชีในรอบ 9/2006 ซึ่งเป็นการปิดงบที่มีผลกำไรค่อนที่ดีทีเดียว โดยตัวเลขยอดขายรวมนั้นอยู่ที่ 178,600,000,000 บาท (เทียบกับยอดปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 9.9%) ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 8,990,000,000 บาท (เทียบกับยอดปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 32.7%) สาเหตุที่ส่งให้ผลกำไรเพิ่มสูงขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากส่วนต่างผลกำไรที่เกิดจากค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้น คิดเป็นมูลค่าถึง 6,180,000,000 บาท สูงกว่าของปีก่อนมากกว่า 4 เท่าตัว แต่ทางด้านผลกำไรจากการบริหารการตลาดนั้นกลับลดลงกว่าปีก่อน 22.7% นอกจากนี้แล้ว อัตราการขึ้นเครื่องบินก็ถือได้ว่าเป็นสถิติที่สูงที่สุดในอดีตที่ผ่านมา คืออยู่ที่ 75.4%

 

22日、チェンマイ動物園にオーストラリアからのコアラ4頭が到着しています。

เมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมาหมี Koala จำนวน 4 ตัวที่ถูกส่งมาจาก Australia มาถึงยังสวนสัตว์เชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว

 

 

=== คำศัพท์ที่น่าสนใจ ===

決算(けっさん)するการปิดงบบัญชี

売上高(うりあげだか)ยอดการขาย

純利益(じゅんりえき)กำไรสุทธิ

前年比(ぜんねんひ)เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

 

คำศัพท์เสริม

--前年同期比(ぜんねんどうきひ)เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน (เช่นเดือนเดียวกัน) ของปีที่แล้ว

-- 割減(わりげん)ลดลงส่วน /割増(わりまし)เพิ่มขึ้นส่วน

หมายเหตุ: คำว่า (わり)หมายถึง อัตราส่วนในการนับเปอร์เซ็นต์ โดยจะนับทีละ 10% ซึ่งก็คือเริ่มนับตั้งแต่(わり)หรือก็คือ 10%ไปจนถึง 10(わり)หรือก็คือ 100%

 

好調(こうちょう)な:ราบรื่น, ไปได้สวย

バーツ(だか)ค่าเงินบาทแข็งตัว

為替差益(かわせさえき)ผลกำไรส่วนต่างจากการแลกเปลี่ยนค่าเงิน

利益(りえき)()()げる:ผลักให้ผลกำไรเพิ่มสูงขึ้น

営業利益(えいぎょうりえき)ผลกำไรจากการบริหารการตลาด

搭乗率(とうじょうりつ)อัตราการขึ้นเครื่องบิน

過去最高(かこさいこう)สูงที่สุดในอดีตที่ผ่านมา

記録(きろく)する:การบันทึกสถิติ

チェンマイ動物園(どうぶつえん)สวนสัตว์เชียงใหม่

(とう)~ ตัว (ใช้นับสัตว์ขนาดใหญ่)

到着(とうちゃく)する:มาถึง, การเดินทางมาถึง

 

== Grammar Point ==

「利益を押し上げる要因となっており、営業利益では前年比22.7%減です」

 

ก่อนอื่นจะขออธิบายในส่วนของการใช้ ~ておる」หรือ「~ております」ก่อนนะครับ ความหมายที่เรามักได้รับการสอนมานั้นคือ มันเป็นไวยากรณ์รูปถ่อมตัว(謙譲語)1  ของ「~ている」หรือ「~ています」เช่น 手紙を書いています→手紙を書いておりますแบบนี้ใช่ไหมครับ

แต่ที่จริงแล้วการใช้รูป 「~ておる」หรือ「~ております」ในความหมายที่ไม่ได้เป็นการถ่อมตัวก็มีเช่นกันครับ เช่น  鳥が鳴っておりますนอกจากนั้นก็ยังมีคำว่า 参ります อีกเช่นกัน ซึ่งนิยมใช้พูดในความหมายที่ไม่ได้แสดงความถ่อมตัว เช่น ประกาศตามสถานีรถไฟ ผู้ประกาศจะพูดว่า「電車が参りました」ซึ่งคำว่า 「参りました」ในที่นี้มิได้แสดงความหมายถ่อมตัว แต่เป็นลักษณะการพูดที่มีความสุภาพมากกว่า 「電車が来ました」นั่นเอง นอกจากนี้แล้วก็ยังมีคำอื่น ๆ อีกมากครับที่มีการใช้ในลักษณะเช่นนี้

ซึ่งในตัวอย่างรูปประโยคที่ยกมานั้นถ้าเขียนแบบปกติที่คนไทยเราเรียน ๆ กันมาก็จะได้เป็น「利益を押し上げる要因となっていて、営業利益では前年比22.7%減です」ซึ่งก็ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด แต่ทว่าในการเขียนรูปประโยคเช่นนี้(หมายถึงภาษาเขียน) สำหรับคนญี่ปุ่นนั้นมักนิยมเขียนในรูป「~ており、~」มากกว่าครับ

 


  1  การใช้คำในรูปถ่อมตัวจะต้องคำนึงความสัมพันธ์ที่เรียกว่า (うち) (คนใน) และ (そと)(คนนอก) ซึ่งในตัวอย่างประโยคที่ให้มาเมื่อกี้ประธานคือตัวผู้พูดเอง(わたし) หรือก็คือคนในนั่นเอง ดังนั้นจึงสามารถใช้คำในรูปถ่อมตัว 謙譲語(けんじょうご)ได้แต่ในทางกลับกันในกรณีที่พูดเรื่องเกี่ยวกับคู่สนทนาหรือบุคคลอื่นหรือที่เรียกว่าคนนอกนั้นก็จะใช้คำในรูปยกย่อง尊敬語(そんけいご)


By … nexus

 

บทก่อนหน้านี้

บทต่อไป