J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย


 

บ้านเรือนของญี่ปุ่น

บ้าน ของชาวญี่ปุ่นมีลักษณะอย่างไร คุณก็คงเคยเห็นในทีวีหรือภาพยนตร์บ้างนะครับ ว่าบ้านญี่ปุ่นได้ถูกสร้างโดยไม้และกระดาษเท่านั้น ก็จริง สมัยก่อนที่ยังไม่นานประมาณ 50 กว่าปีที่แล้วนี้เองนะครับ คนฝรั่งที่มาประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกมักตกใจว่าโครงสร้างของบ้านแบบ ญี่ปุ่น ต่างกับโครงสร้างของบ้านแบบฝรั่งมาก ถ้าจะเปรียบเทียบกับโครงสร้างของบ้านในเอเชีย บ้านแบบญี่ปุ่นก็ยังมีลักษณะพิเศษที่แปลกไม่น้อยทีเดียว แล้วผมก็จะอธิบายให้เพื่อนทุกคนทราบรายละเอียดนะครับ

บ้าน ของชาวญี่ปุ่นในสมัยก่อน แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ คือเป็นบ้านสำหรับชาวเกษตร และบ้านสำหรับชาวเมือง บ้านของชาวเกษตรมีหลังคาเป็นหญ้า(ฟางข้าวหรือฟางพืช Kaya) ถ้าคุณไปต่างจังหวัดก็คงยังพบเห็นอยู่นะครับ บ้านของชาวเมือง(รวมถึงเจ้าเมืองสมัยนั้น) มีหลังคาเป็นกระเบื้อง สมัยนี้บ้านญี่ปุ่นที่สร้างใหม่ก็จะมีแต่หลังคากระเบื้อง แล้วในเมืองใหญ่ก็จะมีพวกอพาร์ทเมนท์ และคอนโดมิเนียมที่ใช้ปูนซิเมนต์และเหล็กเป็นวัตถุก่อสร้างเยอะเหมือนกัน แต่ถ้าคุณเข้าไปดูข้างในของบ้านญี่ปุ่นแล้ว โครงสร้างภายในของบ้านยังมีหลายอย่างที่ถูกสร้างตามวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิม เกือบทุกบ้านนะครับ

บ้านของเกษตรกรญี่ปุ่นในต่างจังหวัด

Genkan
ลักษณะ พิเศษในโครงสร้างของบ้านแบบญี่ปุ่นที่แตกต่างกับบ้านแบบไทยมากที่สุดก็คือ บ้านญี่ปุ่นต้องมีห้องเล็กๆตอนประตูเข้าบ้านที่เรียกกันว่า Genkan ซึ่งเป็นที่ถอดรองเท้าและเป็นที่คนในบ้านจะออกมารับแขกที่เข้ามาเยี่ยมบ้าน ตามปกติ Genkan เป็นที่บังห้องภายในบ้านจากสายตาของคนที่เข้ามา ไม่ว่าเป็นบ้านที่สร้างแบบสไตล์ฝรั่งสมัยนี้ก็ยังต้องมี Genkan เพราะว่า Genkan ในบ้านญี่ปุ่นเป็นที่แบ่งแยกภายนอกบ้านที่เป็นที่สำหรับคนนอกหรือแขก และภายในบ้านที่เป็นของส่วนตัว สำหรับแขกที่ไม่สนิทกัน หรือคนที่มาทำธุระเท่านั้น เจ้าของบ้านมักจะไม่ให้ขึ้นไปในบ้านแต่รับที่ Genkan เท่านั้นก็ได้นะครับ แขกที่ได้นัดพบกันที่บ้านล่วงหน้าหรือแขกที่สำคัญก็จะขึ้นบ้านและเข้าไปห้อง ภายในได้ เพราะฉะนั้นที่ต่างจังหวัดคุณก็คงจะเห็นบ่อยว่าคนที่มาแวะเยี่ยมบ้านเท่า นั้นจะนั่งคุยกับคนในบ้านที่ Genkan หรือ Engawa (ผมจะอธิบายตอนหลัง) นะครับ

พื้นของบ้านญี่ปุ่น
บ้านแบบญี่ปุ่นต้องมีพื้นยกสูงประมาณ 30~60cm ซึ่งที่ญี่ปุ่นไม่มีบ้านแบบไทยสมัยนี้ที่มีพื้นในบ้านมีระดับความสูงเท่าๆกับข้างนอก แต่ก็ไม่สูงเท่ากับบ้านแบบไทยพื้นยกที่ต้องขึ้นบันได สำหรับการยกพื้นของบ้านญี่ปุ่นนี้ ช่องว่างใต้พื้น (En-noshita) ของบ้านมีหน้าที่ระบายความชื้นเพราะว่าภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นมีความชื้นมาก ซึ่งถ้ามีการระบายความชื้นไม่พอ จะทำให้พื้นเสื่อแบบญี่ปุ่น (Tatami) เน่า ขึ้นรา หรือโดนปลวกกินง่ายขึ้นนะครับ

ลักษณะห้องแบบญี่ปุ่น
บ้านญี่ปุ่นแบบสมัยก่อนมีพื้นห้องสามชนิด คือ ห้องที่มีพื้นดินเปล่า (Doma) ห้องที่มีพื้นเป็นไม้ (Itama) และห้องที่มีพื้นเป็นเสื่อ (Tatami) สำหรับห้องพื้นดิน มีแต่พื้นดินที่ทุบให้แข็งเท่านั้น ตามปกติจะมีห้องครัว เตาไฟที่ทำอาหาร (Kamado) และห้องอาบน้ำ แต่สมัยนี้ห้องพื้นดินมีแต่ในบ้านเก่าแก่ที่ต่างจังหวัดเท่านั้นนะครับ ที่ห้องพื้นไม้มักจะใช้เป็นห้องเก็บของทั่วไปหรือที่เตรียมอาหาร สำหรับห้อง Tatami เป็นห้องนอนพักผ่อนนะครับ เสื่อ Tatami มีคุณสมบัติที่ปรับความชื้นในห้องให้สมดุล ซึ่งถ้าความชื้นในอากาศสูงมาก Tatami จะดูดความชื้น และถ้ามีความชื้นน้อยในอากาศ Tatami ก็จะระบายความชื้นได้นะครับ นอกจากนี้ที่บ้านแบบญี่ปุ่นสมัยก่อนจะมีคล้ายกับระเบียงในบ้านที่เป็นพื้นไม้อยู่หน้าห้อง Tatami ที่เรียกว่า Engawa ซึ่งห้อง Tatami สมัยก่อนตามปกติจะไม่อยู่ติดกับด้านนอกและต้องมี Engawa ด้านหน้า

ประตูกระดาษ
นต่างชาติที่เคยเห็นห้องแบบญี่ปุ่นในทีวีหรือภาพยนตร์มักจะสงสัยว่า ทำไมห้องญี่ปุ่นมีหน้าต่างหรือประตูเป็นกระดาษ (Shouji หรือ Fusuma) ความจริงแล้ว Shouji เป็นประตูภายในบ้านที่อยู่ระหว่างห้อง Tatami และ Engawa (หรือทางเดินรอบห้องที่เรียกว่า Rouka) ซึ่งไม่โดนฝน สำหรับด้านนอกของบ้านจะมีประตูเป็นไม้ที่กันฝน (Amado) อีกชั้นหนึ่งนะครับ ลักษณะของ Shouji ก็เป็นประตูเลื่อนที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายเป็นไม้และเอากระดาษสาญี่ปุ่นบางๆมาปิด ซึ่งแสงสว่างของด้านนอกสามารถผ่านเข้ามาในห้องได้นะครับ สำหรับ Fusuma ก็เป็นประตูเลื่อนที่ทำด้วยไม้และกระดาษเช่นเดียวกัน แต่ใช้กระดาษหนาและแสงสว่างไม่สามารถที่จะผ่านได้ ซึ่งใช้เป็นประตูระหว่างห้องนะครับ

Tokonoma, Butsuma (Butsudan), Kamidana
อีกอย่างหนึ่งที่เห็นบ่อยในห้อง Tatami ก็คือ Tokonoma ซึ่งเป็นที่แขวนภาพวาดแบบญี่ปุ่นที่เป็นม้วน (Kakejiku) หรือดอกไม้ประดับที่จัดแต่ง (Ikebana) ซึ่งมักเป็นพื้นไม้ที่ขัดเงาที่มีเนื้อที่ประมาณเป็นเสื่อ Tatami ครึ่งผืนหรือหนึ่งผืนนะครับ สำหรับห้องรับแขกสมัยก่อนต้องมี Tokonoma นะครับ นอกจากนี้ที่บ้านญี่ปุ่นใหญ่สมัยก่อนมักมีห้องไหว้บรรพบุรุษโดยเฉพาะ (Butsuma) หรือถ้าเป็นบ้านที่ไม่ใหญ่ก็จะมีตู้ไหว้บรรพบุรุษ (Butsudan) ซึ่งเป็นที่วางเครื่องต่างๆทางศาสนาพุทธ (Butsugu) ธูป (Senkou) เทียน (Rousoku) และรูปของคนที่เสียแล้วนะครับ ในบ้านต่างจังหวัดก็จะมีชั้นไหว้พระเจ้า (Kamidana) เล็กๆที่อยู่ตอนสูงใกล้เพดานด้วยนะครับ ซึ่งในความเชื่อของคนญี่ปุ่นสมัยก่อนทั่วไป ศาสนาพุทธและศาสนา Shintou เป็นที่มักปนกันและอยู่ด้วยกันได้นะครับ

ห้องส้วมแบบญี่ปุ่น
อ้อ ผมต้องอธิบายเกี่ยวกับห้องส้วมแบบญี่ปุ่นด้วยนะครับ สมัยนี้ห้องส้วมในบ้านญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็เป็นแบบฝรั่งแล้ว แต่ก็ยังมีห้องส้วมแบบญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะที่ต่างจังหวัดและที่ห้อง ส้วมสาธารณะนะครับ ห้องส้วมแบบญี่ปุ่นจะมีลักษณะคล้ายกับห้องส้วมแบบไทย แต่มีที่กั้นอยู่ข้างหน้า และที่แตกต่างกันมากที่สุดก็คือ ต้องนั่งของละทิศทางกับห้องส้วมแบบไทย ซึ่งคุณจะต้องนั่งอย่างหันหน้าไปด้านหน้า ไม่ใช่ว่าหันหน้าไปทางประตูเข้านะครับ

บ้านญี่ปุ่นสมัยนี้
ที่ ผมอธิบายมาก็คือลักษณะบ้านชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนนะครับ ที่ต่างจังหวัดคุณก็คงยังเห็นอยู่ แต่บ้านที่สร้างใหม่สมัยนี้ได้อิทธิผลจากสไตล์ฝรั่งและไม่ค่อยจะมีลักษณะแบบ ญี่ปุ่นดั้งเดิมนะครับ ที่หายไปก็คือห้องพื้นดิน, Engawa, Shouji, Tokonoma, ห้องส้วมแบบญี่ปุ่น ฯลฯ สำหรับห้องนอนโดยเฉพาะคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่มักจะนิยมนอนบนเตียงในห้องแบบฝรั่ง (Youma) มากกว่านอนในที่นอนแบบญี่ปุ่น (Futon)ในห้องแบบญี่ปุ่น (Washitsu) ที่มี Tatami นะครับ แต่ไม่ว่าเป็นบ้านที่ทันสมัยที่สุดของญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวก็ยังมี Genkan แน่นอน และห้อง Tatami ก็น้อยลงแต่ยังนิยมอยู่อย่างน้อยบ้านละหนึ่งห้องนะครับ

Genkan
ห้อง Tatami

หน่วยของเนื้อที่ห้องในบ้านญี่ปุ่น
สำหรับเนื้อที่ของห้องญี่ปุ่นตามปกติก็จะนับเป็นหน่วย Jou ซึ่ง 1 Jou เท่ากับเนื้อที่ของเสื่อ Tatami ผืนหนึ่งนะครับ ขนาดของ Tatami 1 ผืนก็เป็นประมาณ 90 cm x 180 cm แต่ Tatami ของห้องแบบ Kyoto (Kyoma) จะใหญ่กว่านี้นิดหนึ่งนะครับ ชาวญี่ปุ่นตามปกติไม่ได้คิดเนื้อที่ห้องเป็นตารางเมตรแต่คิดเป็นจำนวนเสื่อ Tatami เสมอ ไม่ว่าเป็นห้องแบบฝรั่งที่ไม่ใช้เสื่อ Tatami ก็ตามนะครับ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมีโอกาสหาห้องพักที่ญี่ปุ่น คุณก็ควรรู้ถึงหน่วยว่า Jou ดีกว่านะครับ ไม่เช่นนั้นคงจะดูข้อมูลเกี่ยวกับห้องให้เช่าที่ร้านแนะนำห้องลำบากนะครับ ขนาดห้องที่คุณคงเจอบ่อยก็มีตั้งแต่ 3 Jou, 4.5 Jou (เรียกว่า 4 Jou-han), 6 Jou, 8 Jou จนถึง 10 Jou นะครับ ในบ้านญี่ปุ่นตามปกติห้องนอนที่ใหญ่กว่า 10 Jou ไม่ค่อยมีนะครับ ผมพูดได้ว่าคนญี่ปุ่นไม่นิยมห้องนอนที่กว้างมาก เพราะค่าสร้างบ้านในประเทศญี่ปุ่นแพงมาก และอีกอย่างหนึ่งไม่ค่อยชินที่นอนในห้องที่กว้างมากมาตั้งแต่สมัยโบราณนะครับ



อีก อย่างหนึ่งที่ต้องระวังเมื่อหาห้องพักในญี่ปุ่นก็คือ ในประเทศญี่ปุ่นจะใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับจำนวนห้องในบ้านอย่างเช่น "3LDK" นะครับ 3 หมายถึงจำนวนห้องนอนนอกจากห้องครัวและห้องรับแขก L หมายถึง Living Room ซึ่งเป็นห้องที่ครอบครัวรวมตัวกันพักผ่อนอย่างดูทีวีและเป็นห้องรับแขกได้ ด้วย D หมายถึง Dining ซึ่งเป็นห้องรับประทานอาหาร K หมายถึง Kitchen ซึ่งเป็นห้องครัวนะครับ แต่ตามปกติในบ้านญี่ปุ่น L, D, K มักเป็นห้องที่ต่อกันเป็นห้องใหญ่ห้องเดียว เพราะฉะนั้น บ้าน 3LDK หมายถึงบ้านที่มีห้องใหญ่ห้องหนึ่งที่ใช้เป็น ห้องครัวและห้องกินข้าว พักผ่อนรวมกัน และมีอีก 3 ห้องนอนนะครับ

ถ้า คุณมีโอกาสไปญี่ปุ่น ผมแนะนำให้ลองไปเยี่ยมบ้านเพื่อนคนญี่ปุ่นดูนะครับ คุณคงเห็นความเป็นอยู่ในบ้านญี่ปุ่นที่แตกต่างกับบ้านไทยหลายอย่างแน่นอนนะ ครับ
24 / 05 / 2002

ส่งคำถามเกี่ยวกับญี่ปุ่น, ข้อเสนอแนะหรือคำติชมถึงคุณโยได้ที่นี่ [email protected]


ตอนนี้ทำให้เราได้รู้จักบ้านของคนญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจนเลยนะคะ ที่สำคัญ... ภาพกราฟฟิคประกอบเรื่องคราวนี้ สร้างขึ้นจากฝีมือคุณโย เพื่ออธิบายให้กับชาว jeducation โดยเฉพาะเลยล่ะค่ะ สำหรับตอนต่อไป เมื่อเอ่ยถึงซามุไร หรือนินจา คงจะไม่มีใครไม่รู้จักนะคะ ตอนหน้าคุณโยจะพาเราย้อนอดีตไปรู้จักกับพวกเค้ากันค่ะ