J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย
  สวัสดีค่ะแฟนเจโดะระมังงะทุกคน 
                                    
 สนุกกับการเขียนภาษาญี่ปุ่น
ศ. ดร. ปรียา อิงคาภิรมย์/ดร. สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข แปล
 
 ใครที่สนใจอยากอ่านเรื่องอื่นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาษาญี่ปุ่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น สังคมญี่ปุ่น นวนิยายญีุ่่ปุ่้น วรรณกรรมญี่ปุ่นที่หาอ่านได้ยาก ตลอดจน ตำนานอาหารญี่ปุ่น หรืออยากเขียนถามคำถาม ข้อสงสัยอะไรก็ได้นะคะ ไม่ต้องเกรงใจ เชิญเข้าไปถามได้ตามสบายนะคะ
 
        วันนี้เอาเนื้อเรื่องที่น่าสนใจส่วนหนึ่งจากใน สนุกกับการเขียนภาษาญี่ปุ่น  มาตอบคำถาม เด็กวัดโรงเรียนปรียาที่ให้เด็กวัดไปคิดมา
 
ใครที่สนใจเชิญแวะชมโรงเรียนเด็กวัดปรียาได้ที่ http://japaneseisfun.com/bbs/index.php   
                                                         
                                                             . ดร. ปรียา อิงคาภิรมย์  เขียน 
         
      คำทักทายที่แน่นอนในภาษาญี่ปุ่น เช่น ohayoo gozaimasu おはようございます。omedetoo gozaimasu おめでとうございます。Ittekimasu 行ってきます。arigatoo gozaimashita. ありがとうございました。ก็ำได้ เราจะเห็นว่า สำนวนแต่ละสำนวนลงท้ายแตกต่างกันและมีมากมายหลายแบบ เช่น ~ございます。~ございした。~ます。
      บ่อยครั้งทีเดียวที่จะเห็นคนญี่ปุ่นใช้รูป ~ございます。บ้่าง ~ございした。หรือไม่ใช้คำลงท้ายอะไรเลยก็มี ก็เลยสงสัยอยากให้ช่วยกันคิดว่า แล้วจริงๆใช้ได้จริงตามที่เราเห็นในบางครั้งหรือไม่ เช่น
(เด็กวัด tobi)  1.おめでとうございます/おめでとうございました。
2. 新年(しんねん)おめでとうございます/新年(しんねん)おめでとうございました
3. あけましておめでとうございます/あけましておめでとうございました。
     สามข้อนี้ผมคิดว่า น่าจะใช้สำนวนแรกซะมากกว่านะครับ ส่วนอันหลังไม่ค่อยเห็นนะครับคือ ต้องการเน้นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นยังไม่เลยผ่านช่วงเวลานั้นๆ  
(ครูประจำชั้นปรียา) จากข้อคิดเห็นของเด็กวัด tobi คิดว่่าทั้งสามสำนวนจะใช้ได้แต่รูป  ~ございます。และที่เข้าใจก็น่าจะถูกต้อง และตอบอย่างแบบรับแบ่งสู้ว่า สำนวนหลังไม่ค่อยเห็น ก็แสดงว่า น่าจะใช้ได้ แต่ไม่แน่ใจ
      สำนวนที่เด็กวัดคิดว่า สำนวนที่ลงท้ายด้วย おめでとうございました。ที่จริง ในชีวิตประจำว้น ไม่ได้เป็นอย่างที่เด็กวัดคิด เพราะเห็นคนญี่ปุ่นใช้ おめでとうございました。ในรูป ~ございした。มากทีเดียว
      
     พอเราเห็นคนญี่ปุ่นใช้รูป ~ございした。ได้ เราก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่าทั้งสามสำนวนนี้ใช้ รูปที่ลงท้ายด้วยอดีตได้แต่อย่างไร
       
     ในฐานะที่อาจารย์เองทำเรื่องคำทักทายในภาษาญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน เราทุกคนคงรู้กันดีว่า คำทักทายแตกต่างกับคำพูดธรรมดา เพราะคำทักทายมักจะเป็นสำนวนแน่นอน เช่น เวลาที่เราเจอหน้าใครตอนเช้า คนญี่ปุ่นก็จะพูดว่า ohayoo gozaimasu お早うございます。คงไม่มีใครใช้สำนวนที่ตัวเองแต่งขึ้นมาใช้ เพราะสื่อกับอีกฝ่ายไม่ได้ เพราะไม่ใช่สำนวนทักทายที่แน่นอน
 
     ดังนั้น วันนี้ อาจารย์ขอเอาสำนวนที่ใช้แสดงความยินดีที่เรารู้จักกันดี และใช้กันบ่อยเนื่องในโอกาสวันเกิด เวลาที่ได้ข่าวดีจากเพื่อนว่ากำลังจะมีข่าวดี เช่น งานแต่งงาน หรือ กำลังจะได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ เป็นต้น เราก็จะใช้สำนวนทักทายเพื่อแสดงความยินดีต่างๆให้เข้ากับแต่ละโอกาส
 
    ในกรณีที่ว่านี้ เราจะพูดกับอีกฝ่ายที่กำลังจะแต่งงาน กำลังจะจัดงานวันเกิด หรือกำลังจะมีลูกภายในอีกเดือนสองเดือน แล้วก็ตามด้วย สำนวน omedetoo gozaimasu おめでとうございます
 
    คำตอบที่เด็กวัด tobi ตอบมาจึงถูกต้องที่ว่าใช้สำนวนแรกคือ รูปที่ลงท้ายด้วย  ~ございます。 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนญี่ปุ่นจะไม่ใช้ สำนวน omedetoo gozaimashita おめでとうございました。แม้เด็กวัดจะตอบมาอย่างแบบรับแบ่งสู้ก็ตาม แต่คนญี่ปุ่นจะใช้รูปอดีตในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
 
     หรือในโอกาสที่คนเขียนมาเชิญไปร่วมงาน ขอให้ดูหน้า71สนุกกับการเขียนภาษาญี่ปุ่นในหัวข้อที่ 4 お礼カード
 
คนญี่ปุ่นก็จะเขียนการ์ดขอบคุณกลับไปว่า
 
Omaneki itadaki, arigatoo gozai mashita.
お招きいただき、ありがとう ございました。
ขอขอบคุณที่เชิญ (ไปร่วมงาน)
 
แต่ประโยคข้างล่าง หน้า 71ของหนังสือ  สนุกกับการเขียนภาษาญี่ปุ่น
 
Karaoke ni tsurete itte kudasatte arigatoo.
カラオケに連れていってくださってありがとう。
ขอบคุณที่พาไปคาราโอเกะ (สนุกจริงๆ)
 
     ในกรณีนี้ คนญี่ปุ่นจะใช้รูปประโยคคำขอบคุณที่ไม่มีลงท้ายใดๆด้วย~ございま・~ございました เลยก็มี ก็เลยยิ่งทำให้ผู้เรียนงง และสับสน ว่าแล้วจริงๆควรจะใช้ยังไง เพราะมีหลากหลายรูปแบบ
 
    นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่อยากจะยกมาให้นักเรียนที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นลองสังเกต และคิดดู เพราะภาษาญี่ปุ่นดิ้นได้ จึงเรียนท่องจำอย่างเดียวไม่ได้
 
     ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ คงต้องรบกวนให้แวะไปอ่านในโรงเรียนเด็กวัดปรียา เพราะคงจะต้องเขียนอธิบายกันยาว แต่แวะเอามาให้แฟนๆชาวโดระมังงะได้อ่านกัน
 
では、また。
プリヤー