J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย

ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น บทที่ 28

28課 การนำกริยา รูป  ない  ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ Episode 1

 

            ช่วงวันหยุดสงกราต์เป็นอย่างไรบ้างครับ ได้ฝึกการผันกริยารูปปฏิเสธกันบ้างหรือเปล่าครับ เอาล่ะเพื่อไม่เสียเวลา เรามาดูกันเลยแล้วกันครับว่ากริยารูปปฏิเสธที่เราตั้งใจผันกันเกือบตาย  สามารถนำไปต่อยอดกับไวยากรณ์อะไรได้บ้าง

1. ใช้ห้ามปราม หรือขอร้องไม่ให้ทำ อย่างสุภาพ

                V~ない + でください   กรุณาอย่า.....

                รูปประโยคด้านบนนี้จะใช้ในการขอร้อง เพื่อจุดประสงค์ในการห้ามปรามอย่างสุภาพ โดยเราต้องผันกริยาให้เป็นรูปฏิเสธ  V~ない ก่อนแล้วนำไปรวมกับ でください

ตัวอย่าง

                たばこをすわないでください                                   

กรุณาอย่าสูบบุหรี่

                たくさん おさけをのまないでください           

กรุณาอย่าดื่มเหล้ามาก

プレゼントのことは(おどろ)かせたいのですから、ほかの(ひと)()わないでください

เรื่องของขวัญ อย่าไปบอกใครล่ะ เพราะอยากจะให้เจ้าตัว Surprise

2. ใช้ในการขออนุญาตสิ่งที่คิดว่าจะไม่ทำหรือพูดแสดงแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องทำกริยานั้นๆ

                V~な+くてもいいです(か)

            รูปประโยคนี้ตามที่เขียนในหัวข้อเลยนะครับ ใช้เมื่อเวลาที่เราต้องการสอบถามความคิดเห็นในสิ่งเราจะไม่ทำ หรือพูดแสดงถึงความไม่จำเป็นในการทำกริยานั้น  โดยเราผันกริยาให้เป็น V~ない แล้วตัด   แล้วนำไปรวมกับ てもいいです(か)ก็จะได้รูปประโยคนี้ครับ

ตัวอย่าง

                やさいをたべなくてもいいですか

            ไม่ต้องทานผักได้ไหม

            まだ時間があるから急がなくてもいいです

            ยังพอมีเวลาอยู่ไม่ต้องรีบก็ได้

            くつをぬがなくてもいいです

            ไม่ต้องถอดรองเท้าก็ได้       

 3. ทำ (กริยา 1 )...... โดยไม่ทำ (กริยา 2)              

V1~ない+で、V2~ます/ました

            รูปประโยคนี้ใช้เชื่อมประโยค 2 ประโยค จะแสดงเน้นถึงการทำกรียา (ตัวที่ 2 ) โดยที่ไม่ได้ทำกริยาที่ 1 ซึ่งฟังๆดูแล้วอาจจะงง แต่ลองดูตัวอย่างแล้วจะเข้าใจมากขึ้นครับ

ตัวอย่าง 

                毎日(まいにち)(あさ)ごはんを()ないで学校(がっこう)()きます

            ทุกๆวัน ไปโรงเรียนโดยไม่ได้ทานข้าวเช้า

            シートベルトをつけないで、うんてんしました

            ขับรถโดยไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย

            さとうを()ないで()()ーをのみました

            ดื่มกาแฟโดยไม่ได้ใส่น้ำตาล (สงสัยจะยกล้อ)

                เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ในครั้งนี้คงพอแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วครั้งหน้าเรามาดูต่อกันในภาค 2 ว่าจะมีไวยารณ์ไหนเพิ่มเติมอีกในเรื่องของกริยารูปปฏิเสธ

                                                                                                                

鬼塚先生

บทก่อนหน้านี้ 

บทต่อไป

ดูภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นทั้งหมด