J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย

 

ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นบทที่ 33

33課 ให้และได้รับ  (やりもらい)ภาคที่ 1 การให้สิ่งของ

 

          ห่างหายไปนานเนื่องจากการงาน เอาเป็นว่าในครั้งนี้เรามาลองดูเรื่องยากๆซึ่งมีความแตกต่างจากภาษาไทยโดยสิ้นเชิง ในเรื่องของการให้ แบบคนญี่ปุ่น เอากันแบบละเอียดกันไปเลยเพื่อใช้ในการเตรียมสอบวัดระดับ

                ก่อนอื่น คนญี่ปุ่นเป็นพวกที่ชอบแบ่งพรรค แบ่งพวก โดยสิ่งที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องนี้ คือ เราจะต้องแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คนใน (うち)หมายถึงคนที่เราหรือผู้พูดให้ความสนิทสนมด้วย เช่นกลุ่มของญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงตัวเราหรือผู้พูดด้วย เป็นต้น กลุ่มที่ 2 คือ คนนอ(そと)กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มของบุคคล ที่ผู้พูดหรือตัวของเราพิจารณาแล้ว ว่าไม่สนิทหรืออาจจะสนิทแต่ไม่เท่าในกลุ่มของคนใน โดยการ ให้ นั้นเราจะใช้กริยาあげますหรือくれます เอาละเรามาดูถึงความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวนี้กัน

..

ในส่วนของตัวเลขที่ใส่ให้นั้นเพื่อช่วยในการจำนะครับ ไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ แต่เนื่องจาก  นั้นเป็นคำกริยาที่ค่อนข้างจะเน้นในเรื่องของบุญคุณว่า ประธานของประโยคได้ให้ ....แก่บุคคลท่านใดท่านหนึ่ง แต่จะไม่ใช้กับบุคคลที่มีระดับสูงกว่าผู้พูด อาทิเช่น เจ้านาย หัวหน้างาน เป็นต้น แต่จะเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทน ในส่วนของพ่อแม่นั้นไม่ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่า เพราะตัวเรานั้นจะนับเป็น คนใน นั่นเอง  .

くれます นั้นเป็นแปลว่าให้เหมือนกัน แต่เป็นการให้ที่ผู้ที่ได้รับมีความรู้สึกขอบคุณ หรือเป็นบุญคุณกับประธานผู้ที่ให้ ซึ่งเวลาที่คนญี่ปุ่นได้รับอะไรมาสักอย่างแล้วถูกถามว่าใครให้มา กริยาที่ใช้จะใช้くれます แสดงออกถึงความกรุณาที่ผู้ให้ได้ให้มา จะเป็นในลักษณะของคนนอกให้คนใน แต่จะไม่ใช้ あげます ที่จะแสดงออกในเรื่องของการทวงบุญคุณ

 

เพิ่มเติมเล็กน้อยครับ ในเรื่องของการให้และได้รับนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอดีตเนื่องจากการให้และได้รับนั้นเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่เสมอไปหากเรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็จะใช้รูปปรกติ

                เป็นยังไงกันบ้างครับ ส่วนที่ยากคงเป็นเรื่องของการให้ ที่จะไม่เหมือนกับภาษาไทย หากสงสัยอย่างไรก็ลองถามกันแล้วกันนะครับ ในครั้งหน้าเราจะมาต่อกันในเรื่องเดิมแต่เป็นเรื่องของให้ ในเรื่องของกริยา และรูปสุภาพสำหรับใช้กับคนที่อยู่ในระดับสูงกว่า

 

鬼塚先生(おにづかせんせい

บทก่อนหน้านี้ 

ดูภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นทั้งหมด